Sale 20%

เพลงรัตติกาลในอินเดีย (ปกแข็ง)

240.00 ฿

แปลจาก Notturno indiano
Antonio Tabucchi เขียน
นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐ แปล

สินค้าหมดแล้ว

หมวดหมู่: ป้ายกำกับ:

รายละเอียดเพิ่มเติม

อภิรดา มีเดช ตรวจทาน
ณขวัญ ศรีอรุโณทัย รูปเล่ม
กิตติพล สรัคคานนท์ ออกแบบปก
ISBN: 978-616-93487-3-3
พิมพ์ครั้งที่ 3: กุมภาพันธ์ 2563
ปกแข็ง 142 หน้า

ได้รับรางวัล Prix Médicis Etranger ประจำปี 1987

“โปรดเล่าเนื้อหาของหนังสือคุณให้ฉันฟัง ฉันอยากรู้สารัตถะของมัน”
“ในหนังสือเรื่องนี้ ผมจะเป็นคนที่หลงทางในอินเดีย นี่คือสารัตถะของมัน”

นวนิยายขนาดสั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องราวการเดินทางในอินเดียของชายชาวตะวันตกผู้หนึ่ง ซึ่งไปตามหาเพื่อนเก่าที่หายตัวไป ร่องรอยอันเลือนรางของเพื่อนซึ่งเขาได้จากโสเภณีนางหนึ่งนำเขาไปสัมผัสกับความลึกลับและปริศนาของชีวิต

เกี่ยวกับผู้เขียน

Antonio Tabucchi (อันตอนีโอ ตาบุคคี)

เกิดวันที่ 24 กันยายน 1943 ที่เมืองปิซา เคยเป็นอาจารย์สอนวรรณคดีโปรตุเกสในมหาวิทยาลัยแห่งเมืองโบโลญญา มหาวิทยาลัยแห่งเมืองเจนัว และมหาวิทยาลัยแห่งเมืองเซียนา เป็นผู้ริเริ่มเผยแพร่วรรณคดีโปรตุเกสในอิตาลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานของเฟอร์นันดู เปซัว (Fernando Pessoa) โดยทั้งเป็นบรรณาธิการและแปลร่วมกับภรรยาชาวโปรตุเกส Maria José de Lancastre ผลงานเขียนมีทั้งนวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร และบทความ ได้รับรางวัลทั้งในอิตาลีและประเทศอื่น ๆ ในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย สเปน และโปรตุเกส ปี 2000 ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม เสียชีวิตที่กรุงลิสบอน วันที่ 25 มีนาคม 2012


Reviews

หนังสือเล็ก ๆ เล่มนี้สามารถพลิกจบได้ภายในสามชั่วโมง ตามมาตรฐานของคนอ่านช้า (ผมนี่แหละ) แต่เชื่อว่ามันอาจจะค้างคาอยู่ในใจไปจนอัลไซเมอร์รับประทาน เทียบกับเล่มก่อนหน้า เปเรย์รามีลักษณะเป็นแบบฉบับ ขณะที่เพลงรัตติกาลผาดโผน ผลักดันคนอ่านด้วยคำถามและความสงสัย มันตามหาใคร ตามหาทำไม เพื่อนกันมั้ย แรงจูงใจอะไร สุดท้ายจะจบลงแบบไหน Tabucchi จงใจให้รายละเอียดของเรื่องเล่าน้อยนิดและดูเหมือนไม่ปะติดปะต่อ ประหนึ่งกลั่นแกล้งคนอ่าน ตรงนี้หากไร้ฝีมือ คนเขาจะเลิกอ่านเอานะครับ แต่เมื่ออ่านจนถึงตอนสุดท้าย และมองย้อนกลับไป เราจะเห็นว่าแต่ละตอนร่ายรำอยู่รอบ ๆ แก่นซึ่งฝังแน่นอย่างมั่นคงเพียงแก่นเดียว เมื่อประกอบกับลีลาหลอกล่อชั้นเลิศ ตั้งแต่บทที่ 1 จนถึง 11 จึงสามารถพาคุณก้าวข้ามความไม่รู้ มาสู่ 12 อันเป็นตอนที่ตัวละครอาจตามกันจนเจอแต่ไม่อยากเจอ พร้อม ๆ กับที่คุณเจอ (โดยอาจไม่รู้ว่า 11 บทที่ผ่านมา คุณได้มองหา) แก่นเพียงหนึ่งเดียวซึ่งไม่เคยหลบซ่อนตัว ณ ที่ใดเลย ผมคิดว่าความไม่รู้นั้นเป็นเพียงแค่เครื่องมือที่ Tabucchi หยิบเอามาเล่นกับเราครับ ผมให้ ★★★★★
ศล

ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศในอินเดียที่ผู้เขียนบรรยาย, ตัวเอกกำลังตามหาใคร, มีความสัมพันธ์อย่างไรกันแน่, คนแปลกหน้ามากมายที่ได้พบเจอและบทสนทนาระหว่างทาง ทุกรายละเอียดเต็มไปด้วยความลึกลับ แต่การดำเนินเรื่องที่ล่องลอยถูกขมวดให้เป็นบทสรุปที่หนักแน่นได้อย่างน่าทึ่ง
Peerawat


ลองอ่าน

excerpt_ni2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า