Sale 15%

ตาสว่าง

336.00 ฿

แปลจาก Il Re di Bangkok
Claudio Sopranzetti, Chiara Natalucci  เขียน
Sara Fabbri  วาดภาพปกและภาพประกอบ
นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐ  แปล

มีสินค้า

หมวดหมู่: ป้ายกำกับ:

รายละเอียดเพิ่มเติม

วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์  บรรณาธิการเล่ม
ณขวัญ ศรีอรุโณทัย  รูปเล่มและออกแบบปก
วิญญู กู่กาสิงห์  พิสูจน์อักษร
ISBN: 978-616-93487-0-2
เนื้อในพิมพ์ 4 สี จำนวน 224 หน้า
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2563
ลองอ่าน

ได้รับรางวัล PROSE Award for Nonfiction Graphic Novels (2022)

เขา ‘ตาบอด’ เพราะกระสุนนัดหนึ่งฝังในกะโหลก แต่กลับ ‘ตาสว่าง’ เพราะกระสุนนัดเดียวกันนี้ และทันทีที่ตาสว่าง เขากลับพบว่าประเทศที่ตนอาศัยอยู่ช่างมืดมน ไม่มีทางออก ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีสิ่งซึ่งสามารถไว้วางใจ ทุกสิ่งที่เคยมองเห็นล้วนแต่เป็นเพียง ‘ภาพลวงตา’

ตาสว่าง หรือ IL RE DI BANGKOK คือนิยายภาพ (graphic novel) ที่ดัดแปลงจากเหตุการณ์จริง ฉากหลังของเรื่องเกิดในประเทศไทยตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ถึง ทศวรรษ 2550 งาน fiction ชิ้นนี้คือส่วนผสมระหว่างการศึกษาด้านมานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย ศิลปะการประพันธ์ และงานกราฟิก องค์ประกอบเหล่านี้ได้สร้างความหมายกระทบใจในเชิงกวีนิพนธ์

คณะผู้แต่ง ตาสว่าง ได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านมานุษยวิทยาในประเทศไทยเป็นเวลาสิบปี บวกกับบทสัมภาษณ์กว่าร้อยชั่วโมง โดยได้เข้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2558 จัดทำคลังข้อมูลทั้งในรูปแบบของภาพถ่ายและฟิล์มภาพยนตร์ กว่า 5,000 รายการ โดยใช้เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติ หอภาพยนตร์ และงานสะสมส่วนบุคคลของนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

ทั้งหมดนี้เพื่อกอปรสร้างชีวิตของ ‘นก’ มอเตอร์ไซค์รับจ้างชาวอุดรธานีผู้เข้ามาแสวงหาชีวิตที่ดีในเมืองหลวงช่วงกลางทศวรรษ 2520 ชีวิตของนกถูกเหวี่ยงด้วยแรงลมของการเมืองที่พัดเพในแต่ละยุคสมัย แต่เขากลับรู้สึกมีอิสระดุจนกบิน หรืออาจจะตระหนักเพียงว่าเกิดเป็นนกก็ต้องบิน แต่แรงลมของการเมืองนี้เองได้ดูดดึงเขาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับคนเสื้อแดง ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพในสิทธิของตน เสรีภาพของตน ตื่นรู้ ตระหนักถึงตัวตนทางการเมือง อิสระดุจนกก่อนหน้านี้คือ ‘ภาพลวงตา’ ก่อนที่ลมจะพัดพรากทุกสิ่งไปหลังสูญเสียดวงตาจากการสลายการชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดง ปี 2553 และ ‘ภาพลวงตา’ กลับมาตอกย้ำภาวะ ‘ตาสว่าง’ อีกครั้งหลังรัฐบาลที่เขาสนับสนุนชนะการเลือกตั้งในปี 2554

ทันทีที่ตาสว่าง เขากลับมองเห็นประเทศที่ตนอาศัยอยู่ช่างมืดมน ไม่มีทางออก ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีสิ่งซึ่งสามารถไว้วางใจ ทุกสิ่งที่เคยมองเห็นล้วนแต่เป็นเพียง ‘ภาพลวงตา’

กระสุนทำให้เขา ‘ตาบอด’ และ ‘ตาสว่าง’ ภายในนัดเดียว เหมือนนายพรานยิงปืนหนึ่งนัดได้นกสองตัว ชีวิตเพียงหนึ่งชีวิตของชาวอีสานผู้นี้กลายเป็นการบอกเล่าชะตากรรมของคนในสังคมไทยได้ทั้งประเทศ เรื่องราวในนิยายภาพเป็นประหนึ่งบันทึกประวัติศาสตร์การเมืองของสังคมไทย แม้ตัวละคร ‘ตาบอด’ ในเรื่องจะ ‘ตาสว่าง’ แต่ยังไม่มี ‘แสงสว่าง’ ของประเทศ ไม่ว่าจะในหรือนอกนิยายภาพเล่มนี้

—Reviews—

“อ่านจบแล้วอดสะเทือนใจไม่ได้ เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องแบบเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ไม่ประดิษฐ์ประดอย ฉายภาพให้เห็นการเดินทาง ความทุกข์ ความฝัน และที่มาที่ไปของปรากฎการณ์ “ตาสว่าง” ของสามัญชนที่ไม่อาจหวนกลับไปเหมือนเดิม เป็นหนังสือนิยายภาพที่ทำให้เข้าใจความรุนแรงของรัฐไทย ความรุนแรงเชิงโครงสร้างของสังคมไทย และความขัดแย้งอันร้าวลึกในแผ่นดินสยามได้ลึกกว่าตำราวิชาการจำนวนมาก”…อ่านต่อ
— ผศ. ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ

“กระบวนการจัดทำหนังสือเล่มนี้น่าทึ่งไม่แพ้เนื้อหา ชอบลายเส้นแบบ “ดิบๆ” ที่สื่ออารมณ์ได้ดี ใบหน้าผู้คนพร่าเลือนราวกับจะตอกย้ำว่าพวกเขา “ไม่มีตัวตน” สำหรับอภิสิทธิ์ชนที่ครองอำนาจทางการเมือง แต่ขณะเดียวกันลายเส้นก็แสดงรายละเอียดของตึกรามบ้านช่อง สถาปัตยกรรมในกรุงเทพฯ แต่ละยุคสมัยได้อย่างชัดเจน เห็นชัดว่าทำการบ้านมาดีมาก “…อ่านต่อ
สฤณี อาชวานันทกุล

“Ta Sawang (Il Re di Bangkok, 2020), a melancholic graphic novel written by Claudio Sopranzetti and Chiara Natalucci, and illustrated by Sara Fabbri, is one of the first creative endeavours truly to inhabit that time. Told through fevered flashbacks, the story blends typical comic-strip action with abrupt about-turns into freewheeling surrealism, all in an attempt to capture the joys and paroxysms of the disenfranchised rural-to-urban migrant trying to make ends meet. In its opening pages, our fictional male protagonist, Nok, arrives at Bangkok’s main train station, Hua Lamphong, from the northeast – the oft-belittled region from which the majority of the capital’s millions of internal migrants hail – only to quickly come a cropper. An amenable relative and a job in a shoe factory prove short-lived, and before long he’s sprawled on a bench, staring up wistfully at a billboard for Luk Isan (Son of the Northeast) as he pines for home. “…อ่านต่อ
Max Crosbie-Jones

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า